วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Adverb of Time

Adverb of Time หมายถึง กริยาวิเศษณ์ที่ใช้ขยายกริยาเพื่อแสดงเวลา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ


  1. ประเภทที่เป็นคำเดียว ไม่มีคำอื่นมาร่วมด้วย ได้แก่

    today
    yesterday
    tomorrow
    late
    lately
    recently
    early
    before
    tonight
    now
    then
    soon
    still
    yet
    already
    just
    afterwards
    etc.


  2. ประเภทที่มีคำอื่นมาประกอบด้วย (Adverbial Phrases of Time) ได้แก่

    this morning
    in the afternoon
    last week
    last month
    next year
    on Sunday
    next Monday
    before three o'clock
    two weeks ago
    the day after tomorrow
    during summer
    in B.E. 2520
    in January
    on 5th February
    etc.


  3. ประเภทที่เป็นประโยคเพื่อมาขยายกริยาแสดงเวลา (Adverbial Clauses of Time แปลว่า "วิเศษณานุประโยคแสดงเวลา") ซึ่งจะขึ้นต้นประโยคของมันเองด้วยคำเหล่านี้

    when, since, until, after, before, as soon as ฯลฯ

    ส่วนตำแหน่งการวางวิเศษณานุประโยคแสดงเวลานั้น จะอยู่ส่วนใดของประโยคหลักได้ทั้งนั้น เช่น

    When you have time, come and see me, please.
    เมื่อคุณมีเวลาก็ขอเชิญมาเยี่ยมผมบ้างนะ

    He ran away as soon as he had seen a tiger.
    เขาวิ่งหนีทันทีที่เขาได้เห็นเสือ


◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊


หลักเกณฑ์การวางตำแหน่งของ Adverb of Time

  1. โดยปกติทั่วไปจะวางไว้สุดประโยคเสมอ โดยเฉพาะเมื่อข้อความนั้นเป็นประโยคสั้นๆ เช่น

    Mr. Smith will leave for London tomorrow.
    มร.สมิธจะออกเดินทางกลับไปยังกรุงลอนดอนวันพรุ่งนี้

    Chaiya used to live in Bangkok two years ago.
    ไชยาเคยอยู่กรุงเทพฯ เมื่อ 2 ล่วงมาแล้ว



  2. ถ้าต้องการจะเน้นเวลาให้เป็นกรณีพิเศษ ก็ให้วางไว้ต้นประโยค เช่น

    Last week we went to Chiengmai by train.
    สัปดาห์ที่ผ่านมาเราไปเที่ยวเชียงใหม่โดยทางรถไฟ

    Yesterday he stayed in Singapore; today he's staying in India.
    เมื่อวานนี้เขาพักที่สิงคโปร์ วันนี้เขาพักที่อินเดีย



  3. ถ้ามี Adverbs of Time หลายคำหรือหลายประเภทมาอยู่ในประโยคเดียวกัน ให้วางจากหน่วยเล็กไปหาหน่วยใหญ่ (small units of time come before larger ones) เสมอ เช่น

    Ladda's family is going to visit me at five o’clock in the afternoon on the first of May, 1984.
    ครอบครัวของลัดดาจะไปเยี่ยมผมเวลาบ่าย 5 โมงในตอนบ่ายของวันที่ 1 พฤษภาคม 1984

    I go to bed at seven o'clock in the evening on Sunday.
    ผมจะไปนอนเวลา 1 ทุ่มตอนเย็นวันอาทิตย์

    At three o'clock tomorrow, I will meet you in front of the Intra Theatre.
    เวลาบ่าย 3 โมงพรุ่งนี้ ผมจะไปพบคุณที่หน้าโรงหนังอินทรา

    หมายเหตุ : ถ้าผู้พูดต้องการจะเน้นเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่ มากกว่าเวลาที่เป็นหน่วยย่อย ก็สามารถที่จะวางเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นไว้หน้าเวลาที่เป็นหน่วยย่อยได้ แต่หลังเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นต้องใส่ Comma (,) เสมอ เช่น

    The plane arrived yesterday, about four o'clock.
    เครื่องบินได้มาถึงเมื่อวานนี้ ประมาณบ่าย 4 โมง

    Today, at twelve o'clock the teachers will have meeting.
    วันนี้เวลา 12.00 น. ครูจะมีการประชุมกัน

    อนึ่ง คำต่อไปนี้ คือ morning, afternoon, evening ตามความหมายแม้จะเป็นเวลาหน่วยย่อยหากนำไปใช้ร่วมกับวันของสัปดาห์แล้ว ให้เรียงไว้หลังวันทั้ง 7 ของสัปดาห์ตลอดไป เช่น

    Sunday morning, Monday afternoon, Tuesday evening, Saturday afternoon, etc. เช่น

    You should return the book at nine o'clock on Monday morning.
    คุณควรจะเอาหนังสือมาคืนเวลา 9 นาฬิกาเช้าวันจันทร์

Credit : myfirstbrain.com

0 ความคิดเห็น

Posts a comment

 
© 2011 English For Communication
Designed by Blog Thiết Kế
Back to top