วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Adverb of Manner

Adverb of Manner หมายถึง คำ หรือ ได้แก่คำที่ไปทำหน้าที่ขยายกริยาเพื่อตอบคำถามว่า How (อย่างไร) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร พฤติกรรมดังกล่าวมานี้จะฟังชัดเจนขึ้นได้ ก็ต้องอาศัย Adverb of Manner เข้ามาเป็นตัวกำหนดด้วย

กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ ส่วนมากจะมีรูปมาจาก Adjective (คุณศัพท์) โดยการเติม ly ลงข้างหลังคุณศัพท์ตัวนั้น แล้วนำมาใช้เป็นกริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการได้ เช่น


เป็น Adjective
เป็น Adverb
คำแปล
slow
slowly
ช้า
bad
badly
เลว
quick
quickly
รวดเร็ว, ไว
careful
carefully
ระมัดระวัง
happy
happily
มีความสุข etc.


หรืออาจเป็นกลุ่มคำโดยมีรูปมาจาก Preposition + นาม (ที่เป็นยานพาหนะ) ก็ได้ เช่น by car (โดยรถยนต์), by train (โดยรถไฟ), by boat (โดยเรือ), by place (โดยเครื่องบิน), by bicycle (โดยรถจักรยาน), by tricycle (โดยรถสามล้อ) etc.

อนึ่ง Adverb of Manner บางคำ เป็นคำเดียวกับที่ใช้เป็น Adjective โดยไม่เติม ly ข้างหลังก็มีเช่น Hard (ยาก, หนัก), fast (รวดเร็ว) แต่ทั้งนี้จะรู้ได้ว่าเป็น Adjective หรือ Adverb นั้น ต้องดูที่ตำแหน่งวางนั่นคือ ถ้าวางอยู่หน้านามเป็นคุณศัพท์ แต่ถ้าอยู่หลังกริยาก็เป็น Adverb ไป เช่น

He is a hard worker. เขาเป็นคนทำงานหนัก
Somsak works hard. สมศักดิ์ทำงานอย่างหนัก
(hard ตัวแรกเป็นคุณศัพท์เพราะวางอยู่หน้านาม worker
ส่วน hard ตัวหลังเป็น Adverb บอกกริยาอาการ เพราะเรียงตามหลักกริยา works)
Suchat is a fast runner. สุชาติเป็นนักวิ่งเร็ว
Peter runs fast. ปีเตอร์วิ่งเร็ว
(fast ตัวแรกเป็นคุณศัพท์เพราะเรียงไว้หน้านาม runner
ส่วนตัวหลังเป็น Adverb เพราะวางตามหลังกริยา runs)

◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊


Adverb of Manner (กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ) เมื่อนำมาขยายกริยาในประโยคมีหลักการวางได้ดังนี้

  1. ถ้าประโยคนั้นไม่มีกรรม ให้วางไว้หลังกริยา เช่น

    She dances beautifully.
    หล่อนเต้นรำได้อย่างสวยงาม

    Kitti walks quickly.
    กิตติเดินอย่างเร็ว

    He works hard.
    เขาทำงานอย่างหนัก

    (beautifully, quickly, hard จะเห็นว่าเรียงตามหลังกริยาโดยตรง ทั้งนี้เพราะกริยา 3 ตัวนี้ไม่มีกรรม)



  2. ถ้าประโยคนั้นมีกรรม ให้วางไว้หลังกรรม เช่น

    My son speaks English well.
    บุตรชายของผมพูดภาษาอังกฤษเก่ง

    He writes a composition quickly.
    เขาเขียนเรียงความได้รวดเร็วทีเดียว

    Your sister plays tennis beautifully.
    ลูกสาวของคุณเล่นเทนนิสได้สวยงามทีเดียว

    (well, quickly, beautifully วางตามหลังกรรม)

    ข้อยกเว้น : ถ้ากรรมของกริยาในประโยคนั้น เป็นกรรมยาวและมีตัวขยายด้วย ให้วาง Adverb of Manner ไว้หน้ากริยา เช่น

    The clerk carefully put the pen and the paper into the drawer.
    เสมียนเอาปากกาและกระดาษใส่เข้าไปในลิ้นชักอย่างระมัดระวัง

    He slowly wrote a letter to his friend in the United states of America.
    เขาเขียนจดหมายถึงเพื่อนของเขาที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาอย่างช้าๆ

    อนึ่ง ถ้าผู้พูดต้องการจะเน้น Adverb of Manner ให้เป็นจุดสำคัญในประโยคให้วางไว้หน้ากริยาตลอดไป ไม่ว่าประโยคนั้นจะมีกรรมสั้นหรือกรรมยาวก็ตาม เช่น

    Mr. William successfully completed the experiments.
    มร.วิลเลี่ยมได้ทำการทดลองจนประสบความสำเร็จ



  3. ถ้าประโยคนั้น Adverb of Manner มาขยายทั้งกริยาและกรรมร่วมกัน (Modifies the verb and object together) ให้วางไว้หลังกรรมตลอดไป เช่น

    Laddawan speaks English fluently.
    ลัดดาวัลย์พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง
    (fluently ไปขยายทั้ง speaks และ English เพราะฉะนั้นจึงมีความหมายว่า "พูดอังกฤษได้คล่อง" ไม่ใช่ "พูดคล่อง" เฉย)

    The sun is shining the world brightly.
    ดวงอาทิตย์ส่องโลกให้สว่างไสว
    (ประโยคนี้ก็เช่นกัน brightly เป็น Adverb บอกกริยาอาการ มาขยายทั้งกริยา is shining และตัวกรรม the world เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า "ส่องโลกให้สว่างไสว" มิใช่ "ส่องสว่างโลก")



  4. ถ้าประโยคนั้นเป็นประโยคอุทาน และขึ้นต้นประโยคด้วย how ให้วาง Adverb บอกกริยาอาการไว้หลัง how ตลอดไป เช่น

    How nicely she dances !
    หล่อนเต้นรำช่างสวยงามแท้

    How late you come to school !
    คุณมาโรงเรียนสายอะไรอย่างนี้

    How hard he works !
    เขาทำงานหนักแท้หนอ

    (nicely, late, hare เป็น Adverb บอกกริยาอาการ ดังนั้นในประโยคอุทานจึงต้องเรียงไว้หลัง how)



  5. ในประโยคกรรมวาจก (Passive Voice) ถ้ามี Adverb บอกกริยาอาการมาขยายให้เรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 (Past Participle) เช่น

    Soonthorn Poo, the great poet to Thailand, is well known among students.
    สุนทรภู่นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทยเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเรียนนักศึกษา
    (well เป็น Adverb บอกกริยาอาการ เมื่อนำมาใช้ขยายกริยาในประโยคกรรมวาจกต้องเรียงหน้ากริยาช่อง 3 คือ known)

    The report of Thai economics has been carefully done by the economic expert.
    รายงานเรื่องเศรษฐกิจไทยได้จัดทำขึ้นมาอย่างรอบคอบโดยผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะ)
    (carefully เป็น Adverb บอกกิริยาอาการ เมื่อมาขยายกริยาในประโยคกรรมวาจก ก็ต้องเรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 คือ done)



  6. Adverb บอกกิริยาอาการบางตัว เช่น greatly, strongly หรือ thoroughly นิยมวางไว้ระหว่างประธานและกริยาเสมอ แม้ประโยคนั้นจะสั้นหรือยาวก็ตาม เช่น

    Somsak greatly admires his father.
    สมศักดิ์ชมเชยพ่อของเขาอย่างใหญ่หลวง

    He’s strongly opposed to working hard.
    เขาคัดค้านอย่างแข็งขันที่จะทำงานหนัก

    The boys and girls thoroughly enjoy watching the concert.
    เด็กชายและเด็กหญิงสนุกสนานกับการดูดนตรีตลอดเวลา

    (คำทั้ง 3 ต้องเรียงไว้ระหว่างประธานและกริยาตลอดไป)



  7. สำหรับกริยาวลี (Phrasal Verb) บางตัวเช่น Come in (เข้ามาข้างใน), go out (ออกไปข้างนอก) ถ้ามี Adverb บอกกิริยาอาการเฉพาะที่ลงท้ายด้วย "ly" มาขยาย จะเรียงไว้หน้ากริยาและหรือท้ายประโยคได้ทั้งนั้น เช่น

    Sawat quietly came in หรือ Sawat came in quietly.
    สวัสดิ์เข้ามาข้างในอย่างเงียบๆ

    Mary slowly went out. หรือ Mary went out slowly.
    แมรี่เดินออกไปข้างนอกอย่างช้าๆ
◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊


ถ้า Adverb บอกเวลา (Time), บอกสถานที่ (Place), บอกความถี่ (Frequency) และบอกกิริยาอาการ (Manner) มาขยายกริยาพร้อมกันทีเดียว จะมีหลักเกณฑ์การวางดังนี้

ก) ถ้าไปขยายกริยาทั่วไป (อันไม่ใช่กริยาที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหว) ให้วาง Adverb บอกกิริยาอาการไว้หน้าสุด ตามด้วย Adverb บอกสถานที่ Adverb บอกความถี่ และพ่วงท้ายด้วย Adverb บอกเวลา ดังต่อไปนี้


เช่น
Nanthida sang sweetly at the restaurant once a week two months ago.
      1                 2                    3                    4
นันทิดาร้องเพลงอย่างไพเราะอยู่ที่ภัตตาคารนี้สัปดาห์ละครั้งเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา

Manop worked hard here every day last year.
    1      2         3            4
มานพทำงานหนักอยู่ที่นี่ทุกๆวัน เมื่อปีที่แล้ว

They used to play football enthusiastically in the rain several times last month.
       1                  2                3                 4
พวกเขาเคยเล่นฟุตบอลอย่างกระตือรือร้นในท่ามกลางฝนหลายครั้งเมื่อเดือนที่แล้ว


ข) ถ้า Adverb ทั้ง 4 ชนิด ไปขยายกริยาที่แสดงการเคลื่อนไหว (Verb of Movement) ให้เอา Adverb บอกสถานที่นำหน้าสุด แล้วตามด้วย Adverb บอกกิริยาอาการ Adverb บอกความถี่ และ Adverb บอกเวลาตามลำดับ ดังต่อไปนี้


เช่น
I went to Chiengmai by train every Sunday last month.
1             2             3                 4
ผมไปเชียงใหม่โดยทางรถไฟทุกๆ วันอาทิตย์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา

Arthit flew to London by B.O.A.C. twice last year.
  1              2            3        4
อาทิตย์บินไปลอนดอนโดยสายการบิน BOAC 2 ครั้งเมื่อปีที่แล้ว

Credit : http://www.myfirstbrain.com


0 ความคิดเห็น

Posts a comment

 
© 2011 English For Communication
Designed by Blog Thiết Kế
Back to top